วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สื่อประเภทโสตทัศนูอุปกรณ์ (Audio Visual Equipment)

 (oknation.net  อังคาร พฤศจิกายน 2550.  โสตทัศนูปกรณ์ (Audio Visual Equipment)  สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2555, จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=148850)
จากเว็บไซต์ที่ได้สืบค้นบทความ บทความได้กล่าวว่า
โสตทัศนูปกรณ์ (Audio Visual Equipment) 
สื่อประเภทโสตทัศนูอุปกรณ์ (Audio Visual  Equipment)  สามารถแบ่งตามลักษณะการสื่อสารเป็น 3 จำพวก ได้แก่
1.เครื่องฉาย (Visual Projector Equipment)
2.เครื่องเสียง (Audio Equipment)
3.สื่อเครื่องมือและอุปกรณ์ ประเภทอื่น ที่มีราคาค่อนข้างแพง
คุณค่าและประโยชน์ของโสตทัศนอุปกรณ์ 
โสตทัศนอุปกรณ์เป็นส่วนที่เข้ามาเกี่ยวข้องการจัดนิทรรศการอย่างไร คำถามนี้เมื่อใช้ความรู้ด้านการสื่อสารมาอธิบายจะพบว่าโสตทัศนอุปกรณ์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร โดยเฉพาะเมื่อเป็นการสื่อสารที่จำแนกตามจำนวนผู้รับสาร แต่อย่างไรก็ตามในการนำเสนอในกลุ่มใหญ่ ปกติที่มีจำนวนเข้ารับฟังการนำเสนอ หรือผู้ชมประมาณ 30-40 คน ผู้นำเสนออาจไม่ใช้โสตทัศนอุปกรณ์ช่วยการนำเสนอก็สามารถสื่อสารกับผู้ฟังได้เช่นกัน หรืออาจจัดเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่หากว่ามีการนำโสตทัศนอุปกรณ์มาใช้ร่วมแล้วย่อมส่งผลดีต่อการนำเสนอหรือการสอนนั้น เช่น ผู้ชมรับฟังเข้าใจได้ตรงกันในเวลาอันรวดเร็ว    ผู้ชมได้ยินเสียงอย่างชัดเจนทั่วถึง เป็นต้น ดังนั้นโสตทัศอุปกรณ์ จึงมีคุณค่าและประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำเสนอ
1.เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร
2. สร้างความสนใจและช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้ชม
3.ส่งเสริมลักษณะการเรียนรู้และความเข้าใจ
4.ช่วยเพิ่มช่องทางในการรับส่งข้อมูล
5.เอาชนะข้อจำกัดบางประการของข้อมูลในการนำเสนอ
หลักและวิธีการใช้โสตทัศนอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ  สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้งานที่เกิดขึ้นได้รับผลตามความมุ่งหมาย และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ คือ
1. ผู้ใช้รู้และเข้าใจการใช้งานอย่างถูกวิธี และถูกขั้นตอน
2. ผู้ใช้เข้าใจคุณค่า คุณลักษณะ และประโยชน์ในการใช้ของเครื่องมืออุปกรณ์นั้นอย่างแท้จริง
จากเหตุผลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ถ้าผู้ใช้โสตทัศนอุปกรณ์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้กล่าวมาทั้ง 2 ข้อ ผลที่จะเกิดตามมาก็คือ การพัฒนาการใช้ที่หลากหลายรูปแบบ หลากหลายวิธีการ ที่แปลก หรือซับซ้อนมากขึ้น กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า เทคนิคการใช้นั้นเอง
3.1 เครื่องฉาย (Visual Equipment System)
เครื่องฉายเป็นสื่อประเภทอุปกรณ์ที่มีบทบาทต่อการจัดนิทรรศการเป็นอย่างมาก มีคุณสมบัติ และลักษณะที่จะต้องอาศัยวัสดุฉายประกอบร่วมด้วย สามารถใช้กับผู้ชมจำนวนมาก และสามารถใช้ร่วมกับสื่อประเภทอื่น ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตสื่อการฉายภาพด้วยเครื่องฉายเป็นกระบวนการเกิดภาพบนจอภาพ และมุ่งเน้นที่จะให้ภาพที่ปรากฏมีขนาดใหญ่ ชัดเจน และต้องไม่ผิดเพี้ยน 
ดังนั้นการฉายภาพจึงต้องประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 3 สิ่ง จึงจะเกิดการฉายที่สมบูรณ์ คือ
1.เครื่องฉาย(Projector)
2.สิ่งที่จะนำมาฉาย หรือวัสดุฉาย (Material)
3.จอรับภาพ (Screen)
การกำหนดและติดตั้งจอภาพ (Screen Setting)
ก่อนการติดตั้งจอภาพผู้ติดตั้ง จำเป็นจะต้องพิจารณาตำแหน่งของจอภาพ นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการรับชมแก่ผู้ชม แล้ว ยังเป็นส่งผลต่อคุณภาพของภาพ ด้านความสว่าง  ความคมชัด และความถูกต้องของภาพที่ปรากฏ โดยต้องคำนึงต่อองค์ประกอบต่อไปนี้
1.ขนาดพื้นที่
2.จำนวนผู้ชมและตำแหน่งเก้าอี้ โต๊ะ หรือบริเวณของการยืนรับชม
3.แสงสว่างภายในห้อง
4.ตำแหน่งของเครื่องฉาย
การติดตั้งจอภาพสามารถกระทำได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับโครงสร้างและส่วนประกอบของจอภาพนั้นๆ เราจะพบเห็นการติดตั้งจอภาพโดยทั่วไปใน 3 ลักษณะ คือ
1.แบบสามขา หรือขาตั้ง (Tripod or Portable)  การติดตั้งลักษณะนี้ เป็นการติดตั้งที่กำหนดโดยลักษณะของจอที่ผลิตเป็นแบบเคลื่อนย้าย คือจอภาพมีขาตั้งติดมาด้วย หรือ เนื่องด้วยเป็นการติดตั้งชั่วคราว ที่สามารถแยกส่วนจอและขาตั้งจากกันได้
2. แบบยึดติดผนัง (Spring loaded wall screen) กรณีนี้มักติดตั้งเป็นการถาวร อาจจะใช้วิธีดึงจอขึ้น หรือลงก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของจอของแต่ละผู้ผลิต ปัจจุบันมีระบบควบคุมการเก็บและใช้สะดวกมากขึ้น จอแบบนี้เวลาดึงออกมาใช้จะตั้งฉากกับพื้น
3.แบบยึดติดฝ้าเพดาน คล้ายกับแบบติดผนังแต่สามารถปรับมุมในการรับภาพของจอภาพ เพื่อแก้ปัญหาการผิดเพี้ยนของภาพ ที่เรียกว่า Keystone effect
เครื่องฉายสไลด์ (Slide projector)

       เครื่องฉายสไลด์มีหลักการเกิดภาพคล้ายกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ แต่วัสดุที่นำมาใช้เป็นฟิล์มสไลด์ที่ได้จาการถ่ายรูป หรือพิมพ์ด้วยวิธีการอื่น เช่น  จากเครื่องสร้างภาพสไลด์จากคอมพิวเตอร์ สไลด์เหมาะแก่การใช้กับการนำเสนอกลุ่มใหญ่เช่นเดียวกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องฉายสไลด์ที่ใช้ในการนำเสนอมีอยู่  2  แบบ โดยแบ่งตามความสามารถในการควบคุมเครื่อง คือ
1. เครื่องฉายสไลด์แบบ Manual แบบนี้การเปลี่ยนภาพแต่ละภาพใช้การควบคุมที่ตัวเครื่อง หรือผ่านตัวควบคุมระยะไกล (Remote control) การใช้จึงจำเป็นต้องมีคนช่วย หรือต้องควบคุมด้วยผู้นำเสนอเอง นิยมใช้ในการนำเสนอแบบประกอบการบรรยาย เพราะสามารถเปลี่ยนได้ตามความต้องการในทันทีทันใด
2.  เครื่องฉายสไลด์แบบ Automatic เครื่องฉายสไลด์แบบ Automatic หรืออาจเรียกได้ว่าแบบ Programmable เป็นเครื่องฉายที่มีการควบคุมการเปลี่ยนภาพจากอุปกรณ์เสริม เช่น เครื่องควบคุมแบบเทปบันทึกเสียง อาศัยการบันทึกสัญญาณควบคุมลงในเทปเสียง เมื่อเล่นกลับสัญญานควบคุมที่บันทึกไว้จะถูกส่งไปควบคุมเครื่องฉายสไลด์ให้เปลี่ยนภาพตามเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นเวลาที่เทปเดินนั้นเอง ตรงนี้นอกจากจะบันทึกสัญญาณควบคุมแล้ว ยังสามารถบันทึกสัญญาณเสียงลงไปในเทปได้ด้วย ในลักษณะนี้เราจะรู้จักกันทั่วไปว่า เป็นสไลด์ประกอบคำบรรยาย  สไลด์ประกอบคำบรรยายนี้สามารถใช้ได้ตั้งแต่ 2 เครื่องเป็นต้นไป สามารถสร้างเทคนิคพิเศษในการเปลี่ยนภาพ เช่นการ เฟด การจางเข้าออก การซ้อนภาพ และถ้ามีจำนวนเครื่องฉายตั้งแต่ 4 เครื่องขึ้นไปจะสามารถทำเทคนิคการนำเสนอได้หลากหลายมาขึ้น และเรียกการนำเสนอนั้นว่า สไลด์มัลติวิชั่นสไลด์กล่าวได้ว่ามีคุณค่าและประโยชน์ไม่แพ้เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ มีคุณค่าและประโยชน์ที่คล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย คือ
1. สามารถยืดหยุ่นในการนำสื่อไปจัดใช้
2. สามารถใช้ในนำเสนอได้ทั้งแบบรายบุคคล กลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่
3. สามารถโปรแกรมได้ ร่วมกับเทปเสียง
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องฉายสไลด์ในเนื้อหาต่างๆ
1.ด้านศิลปะ  ใช้สไลด์แสดงภาพผลงานจิตรกร
2.ประวัติศาสตร์  ใช้สไลด์แสดงภาพสถานที่  รายละเอียดต่างๆ คล้ายการไปทัวร์
3.ชีววิทยา    ใช้สไลด์นำเสนอภาพถ่ายใกล้มากๆ หรืออธิบายรายละเอียดเป็นขั้นตอน
เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์( Computer Image Projector )
เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์เป็นโสตทัศนอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นแม้จะมีราคาสูงแต่ประสิทธิภาพ และการใช้งานนั้นค่อนข้างสูง เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีให้เห็นกันอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่เรียกว่า LCD panel ชนิดนี้เวลาใช้นอกจาจะต้องต่อกับคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นต้นกำเนิดข้อมูลต่างๆ แล้ว ต้องอาศัยเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะเป็นตัวส่งผ่านไปยังจอรับภาพ ส่วนอีกชนิดหนึ่งเป็นแบบ desktop projector ชนิดนี้เป็นชนิดที่รวมเครื่องฉายไว้ในตัวเวลาใช้เพียงแต่ต่อสายสัญญานภาพจากคอมพิวเตอร์ก็สามารถฉายขึ้นจอภาพในทันที ชนิดนี้ส่วนใหญ่มักจะออกแบบให้สามารถใช้ได้ทั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นเทปวิดีทัศน์ กล้องโทรทัศน์ หรือเครื่องจับภาพ 3 มิติ ที่เรียกกันว่า Visual presenter หรือ Video Imager
คุณค่าและประโยชน์
คุณค่าและประโยชน์ของเครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์นั้นเหมือนกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ และสไลด์ แต่สำหรับเครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์นั้น คุณค่าและประโยชน์จะเน้นไปในการช่วยแก้ปัญหาในการนำเสนอข้อมูลที่ ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ซึ่งมีขนาดเล็ก ไม่สามารถให้เห็นได้พร้อมๆ กันอย่างทั่วถึง ดังนั้นจะเห็นว่าเงื่อนไขที่น่าจะเป็นข้อตัดสินใจว่าควรใช้เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์หรือไม่น่าจะมีสาเหตุมาจากข้อมูลในการนำเสนอด้วยเช่นกัน ถ้าข้อมูลอยู่ในคอมพิวเตอร์ ข้อมูลนั้นจำต้องแสดงผ่านคอมพิวเตอร์เท่านั้น หรือเป็นการนำเสนอสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยตรง เป็นต้น อย่างไรก็ตามมิได้เป็นข้อจำกัดถ้าไม่ใช่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถใช้เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์ในการนำเสน

ที่มาวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  25 ตุลาคม 2554  เครื่องเสียง  สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87
เครื่องเสียง (Audio Equipment)
1.เครื่องขยายเสียง
เครื่องเสียง หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียง หรือเกี่ยวข้องกับกระบวนการขยายเสียง ถ่ายทอดเสียง กระจายเสียง เป็นต้น ในภายหลังยังนิยมเรียกรวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสัญญาณภาพด้วย
ประเภทของเครื่องเสียง
เครื่องเสียงนั้นมีด้วยกันหลายประเภท โดยอาจแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้
อุปกรณ์แหล่งสัญญาณ
เป็นอุปกรณ์ต้นสัญญาณ โดยอาจเป็นแหล่งกำเนิดสัญญาณเอง หรือรับสัญญาณจากคลื่นวิทยุก็ได้ เช่น
เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นเทปคาสเซ็ต เครื่องเล่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดี, เครื่องรับวิทยุ ,เครื่องรับโทรทัศน์, เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม
อุปกรณ์ปรับแต่งสัญญาณ 
ขยายสัญญาณ หรือแปลงสัญญาณ แล้วแต่การใช้งาน เช่น ปรีแอมปลิไฟเออร์, เพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์, อีควอไลเซอร์, มิกเซอร์, เซอราวด์ซาวด์โปรเซสเซอร์
อุปกรณ์กระจายเสียง 
เป็นส่วนท้ายสุดของระบบเครื่องเสียง เป็นตัวถ่ายทอดผลลัพธ์สุดท้ายออกมา ซึ่งก็คือ ลำโพง นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครื่องเสียงอีกมากมาย เช่น ไมโครโฟน, สายเคเบิล, สายสัญญาณ เป็นต้น

ที่มา arttubeaudio.com  เครื่องเล่นเทป  สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2555
จาก  http://www.arttubeaudio.com/review_a4.htm
จากบทความของเว็บไซต์ได้กล่าวว่า
เครื่องเล่นเทป
เครื่องเล่นเทป (Cassette deck)
เป็นอุปกรณ์เครื่องเสียงที่เป็นที่นิยมในสมัย พ.ศ. 2520 สมัยก่อนมีการพัฒนากันจนใช้เทคโนโลยีแบบสุดๆ  เพื่อให้คุณภาพเสียงที่ดีที่สุด  ต่อมาเจอเทคโนโลยี ของเครื่อง เล่น Compact  disc  โจมตีจนปัจจุบันเครื่องเล่นเทปแทบจะเลิกผลิตกันไปแล้ว   เครื่องเล่นเทปคาสเซท  นับว่ามีเสน่ห์ และเทปที่นำมาเล่นราคาถูก หาซื้อได้ทั่วไป จึงเป็นที่นิยมในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก
เทปคาสเสท มีเส้นเทปขนาด 3- 7.4 มิลลิเมตรเส้นเทปนี้ถูกฉาบด้วยสารผงสารแม่เหล็ก  เมื่อนำเทปไปใส่เครื่องเล่นกลไกต่างๆ จะหมุนทำให้เทปผ่านหัวเทป  (Playback Head)สภาพของผงสารแม่เหล็ก เมื่อผ่านหัวเทป จะทำให้เกิดสัญญาณแรงดันไฟฟ้าขึ้นที่ขดลวดที่ฝังอยู่ในหัวเทป ซึ่งเหมือนกับตอนที่บันทึกมาคือ แรงดันฟ้าที่ป้อนให้หัวอัด(Recording Head) พิมพ์สัญญาณลงในเส้นเทป สัญญาณนี้จะถูกขยายให้เป็นดนตรีให้ได้ยินกันหัวเทปส่วนใหญ่เครื่องเล่นคุณภาพดีๆ จะมี 2 หัว คือหัวเล่นกลับและหัวบันทึกในตัวเดียวกัน และหัวลบ บางเครื่องก็มีถึงสามหัว   โดยแยกหัวบันทึก และหัวเล่นกลับออกมาต่างหาก มีมากหัวก็ไม่ได้ดีไปกว่าน้อยหัว เพราะถ้าการออกแบบกลไกไม่ดีพอทำให้เสียงแย่ลง
ชนิดของเทป คาสเสท เวลาในการเล่นที่แตกต่างกัน
         -C-60  ใช้เวลาในการเล่นหนึ่งหน้านาน 30 นาที   หน้า สอง 30 นาที  รวมเป็น 60 นาที
         -C-90  ใช้เวลาในการเล่นหนึ่งหน้านาน 45 นาที   หน้า สอง 45 นาที  รวมเป็น 90 นาที
         -C-120 ใช้เวลาในการเล่นหนึ่งหน้านาน 60 นาที  หน้า สอง 60 นาที  รวมเป็น 120 นาที
ศัพท์ทางเทคนิคและความหมาย Timer Recordinความสามารถในการตั้งเวลาบันทึกเสียง มีความยุ่งยากในการใช้งานพอสมควรAuto Reverse  สามารถเล่นหน้าสองได้อัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาลุกไปเปลี่ยนเทปPause เป็นการหยุดการเล่นเทปชั่วคราว เหมือนกับเครื่องเล่น CD Auto Stop   เมื่อเล่นเทปไปจนหมดม้วนแล้วก็จะหยุดอัตโนมัติREC Muteการบันทึกเสียงจากราการวิทยุต่างๆเมื่อไม่ต้องการเสียงคนพูด แต่เทปจะหมุนไปเรื่อยๆไม่ได้หยุดแบบ ปุ่ม Pause

ที่มา ธานี ภู่นพคุณ  23 มิถุนายน 2555  เทคนิคการใช้โสตทัศนูปกรณ์ในการนำเสนอ  สื่อค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2555 จาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/162800?locale=en
จากบทความของ  ธานี ภู่นพคุณ  ได้กล่าวว่าเรื่องของเทคนิคการใช้โสตทัศนูปกรณ์ในการนำเสนอ
เทคนิคการใช้โสตทัศนูปกรณ์ในการนำเสนอ
1. กำหนดวัตถุประสงค์
 ที่สามารถพิสูจน์และวัดผลได้ในสิ่งที่เราได้พูดไปแล้วหรือนำเสนอไปแล้วว่า ผู้ฟังมีปฏิกริยาที่แสดงถึงความเข้าใจหรือไม่ มีทัศนคติเป็นอย่างไร เกิดความชำนาญและเป็นบุคคลที่มีคุณภาพที่ดี เขาปฏิบัติตามที่เราต้องการหรือเปล่า เป็นต้น
 2. ลักษณะของการนำเสนอ  การนำเสนอมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ 
เช่น
1.การประชาสัมพันธ์- โฆษณา
2.การเรียน การสอน
3.การฝึกอบรม
4.การประชุมสัมมนา
5.การขาย
6.การประชุมลูกค้า
7.การอภิปราย
8.การรายงานต่อผู้บังคับบัญชา
9.การรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
10.การแถลงข่าวสื่อมวลชน
11.การบันเทิง
12.การนิทรรศการ-แสดงสินค้า
3. การเลือกใช้สื่อและอุปกรณ์มีโสตทัศนูปกรณ์ชนิดต่างๆ  มากมายที่สามารถมาใช้ในการนำเสนอ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจใช้สื่อหรืออุปกรณ์ใดแล้วควรจะวิเคราะห์เสียก่อนว่าสื่อหรืออุปกรณ์ใดจึงจะเหมาะสอดคล้องกับเรื่องที่จะนำเสนอ ขนาดและลักษณะของผู้ฟัง สถานที่ในการนำเสนอ เวลาในการนำเสนอ เวลาสำหรับในการผลิตสื่อ งบประมาณ  โสตทันูปกรณ์และสื่อสำหรับใช้ในการนำเสนอควรจะสอดคล้องและเหมาะสมกับเรื่องราวเครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ
ชอล์ก กระดานดำ
ฟลิปชาร์ต-แผนภูมิ-ของจริง
เครื่องฉายไมโคร ไมโครฟีล์ม
เครื่องฉายข้ามศีรษะ
เครื่องฉายภาพทึบแสง
เครื่องฉายภาพยนตร์
เครื่องฉายโปรเจคเตอร์  ทีวี
เครื่องเล่นวีดีโอเทป
เครื่องฉายภาพวิชวล
เครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องเล่น  ดีวีดี  ซีวีดี  เอ็มพี 3  และเอ็มพี โฟร์
4. การวางโครงเรื่องและภาพที่จะนำเสนอ
การจะเป็นนักพูดที่มีการนำเสนอที่ดีแล้ว ควรจะมีการเตรียมการหรือวางแผนเสียก่อน ดังสุภาษิตจีนบทหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า " ระยะทางร้อยลี้จะต้องมีก้าวแรกเสมอ " นักโสตทัศนศึกษาที่ดีแล้ว  ควรจะนึกถึงเรื่องและภาพออกมาในเวลาเดียวกันได้ แต่ก่อนจะร่างโครงเรื่องใด ๆ ควรจะมีการวิเคราะห์กลุ่มผู้ฟังเสียก่อน ซึ่งหลักในการวิเคราะห์มีดังนี้
ขนาดของกลุ่ม
อาชีพและการศึกษา
อายุและเพศ
ความรู้ของผู้ฟังเกี่ยวกับเรื่องที่เราจะนำเสนอ
ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่จะนำเสนอ
ความเชื่อถือเก่า ๆ
ความกระทบกระทั่งต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมระหว่างชุมชน ชนชาติ  ศาสนาฯลฯ
การวางโครงเรื่อง
ตั้งหัวข้อเรื่อง
ร่างโครงเรื่องให้ตรงกับหัวข้อเรื่อง
คำนำเรื่อง เพื่อชักจูงความสนใจให้ติดตาม
เนื้อเรื่อง อธิบายเนื้อหาสาระ
สรุป เพื่อย่อและทบทวนเพื่อหาสาระ
ภาพที่จะใช้ประกอบการนำเสนอ
เลือกภาพให้ตรงกับเนื้อเรื่อง
เลือกใช้ภาพที่เหมาะสมกับกาลเวลา
เลือกใช้ภาพที่ดีมีคุณภาพ
เรียบเรียงภาพตามขั้นตอนของเนื้อเรื่อง
5. กำหนดขั้นตอนสำคัญในการนำเสนอ
ในการนำเสนอแต่ละครั้งควรจะจัดขั้นตอนว่าอะไรควรเสนอก่อนหลัง เช่นการแนะนำตัว หรือว่านำเสนอก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่าจะมีเทคนิคหรือเคล็ดลับอะไรที่จะทำให้การเสนอนั้น ๆได้รับการสนใจและเกิดความประทับใจจากผู้ฟัง
6. การนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพต่อผู้ฟัง
    ก่อยนำเสนอนั้นผู้พูดควรจะต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้ฟังให้มาก มีนักพูดประสบความล้มเหลวมามากแล้ว    ที่ไม่ได้ตำนึงถึงกลุ่มผู้ฟังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีการนำอุปกรณ์โสตทัศนศึกษา เข้ามาประกอบการนำเสนอ ผู้นำเสนอควรจะระวังหรือคำนึงถึงสิ่งต่างๆ  ดังนี้
ผู้ฟังและผู้พูดควรจะเห็นกันได้อย่างชัดเจนและเหมาะสม
ผู้ฟังและผู้พูดควรจะได้ยินเสียงอย่างชัดเจน
ผู้ฟังและผู้พูดควรจะเห็นภาพที่ปราฏบนจอได้อย่างชัดเจน
ผู้ฟังคือบุคคลสำคัญ
ควรคำนึงถึงสถานที่ให้มาก ถ้าไม่คุ้นกับสถานที่ควรไปดูสถานที่ก่อน
7. ซ้อมการนำเสนอ 
ถ้าเป็นนักพูดที่เก่งแล้วไม่ควรประมาท ในกรณีที่จะต้องใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษา  ควรจะต้องมีการผึกซ้อมเป็นอย่างยิ่ง  
กำหนดเวลาในการพูดและซ้อมให้ด้ในเวลา
ซ้อมการใช้สื่ออุปกรณ์ต่าง ๆที่จะนำไปใช้
ถ้าได้ซ้อมในสถานที่จริงก็จะเป็นประโยชน์มาก
ควรจะซ้อมการนำเสนอต่อหน้าผู้ทีจะให้คำแนะนำได้
ควรจะซ้อมด้วยความมั่นใจก่อนนำเสนอจริง
8. โฆษณา / ประชาสัมพันธ์ 
ในบางกรณีจะมีการนำเสนอในโอกาสพิเศษ  จะต้องมีการลงทุนทั้งงบประมาณ และการเสนอที่แปลกใหม่ เช่นการประชุมลูกค้าในการขาย ควรประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มที่เราต้องการ ให้มาชุมนุมให้ได้  ทั้งนี้เพื่อจะไดให้คุ้มค่ากับสิ่งที่เราลงทุนและให้เขาเล็งเห็นประโยชน์ที่เขาจะได้รับ
9. เตรียมตัวของท่านให้พร้อมอยู่เสมอ  เมื่อท่านได้ฝึกซ้อมการพูดแล้วมิใช่ว่าจะสำเร็จแล้ว สำหรับท่านที่จะไม่ค่อยมีโอกาสนำเสนอบ่อยนัก ผู้นำเสนอควรจะหาประสบการณ์และเตรียมพร้อมเสมอ ที่จะเป็นผู้นำเสนอมืออาชีพ- ท่านจะต้องมีความมั่นใจในเรื่องที่นำเสนอเต็มที่ ท่านจะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ฟัง ท่านจะต้องรู้จักผ่อนคลายอิริยาบท ไม่เครียด อย่ากังวล-ประหม่า ควรจะเตรียมตัวในการเลือกการแต่งกายให้เหมาะสม
10. บทสรุป ทบทวน ตอบข้อซักถาม
     ผู้นำเสนอจะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องการสรุปเนื้อเรื่องที่นำเสนอ และในขณะเดียวกันอาจจะมีข้อซักถาม          
ผู้นำเสนอจะต้องมั่นใจ และเตรียมพร้อมด้วยความสุขุม สุภาพ ฉนั้น ผู้นำเสนอจะต้องกำหนดเวลาเพื่อเหตุการณ์เหล่านี้ด้วย
11. การเตรียมงาน - อุปกรณ์  ก่อนนำเสนอ
ตัดสินใจว่าควรจำนำอุปกรณ์อะไรไป  สำรองหลอดอะไหล่ เครื่อง สายต่าง ๆ เลนซ์  นำอุปกรร์ต่างๆ ที่จะใช้งาน ที่อยู่ในสภาพดีไปเท่านั้น  กรณีเดินทางไกลควรจะสอบถามแต่ละท้องถิ่นว่ามีอุปกรณ์อะไรที่ต้องการใช้ ว่ามีหรือเปล่า  ควรจะมีปัญชีรายการสิ่งของบันทึกไว้อย่างละเอียด
12. ที่สถานที่นำเสนอ ( ห้องบรรยาย )
ไปถึงก่อนบรรยายในการนำเสนอ
ติดตั้งเครื่อง  และอุปกรร์ด้วยความละเอียด
ตรวจสอบและทดลองซ้อมการใช้ด้วยความมั่นใจ
ตรวจสอบระบบเสียงให้ได้ยินอย่างชัดเจน
ตรวจสอบภาพว่าสัมพันธ์กับผู้ชมหรือไม่
ตรวจสอบว่าผู้ชมเห็นภาพชัดเจนและทั่วถึง
ควรใช้สูตรระบบ 8 H ทุกครั้ง ในการฉายภาพทุคร้ง
ควรคำนึงระบบการถ่ายเทอากาศไว้ด้วย
ขณะที่เปิดการนำเสนอ
รักษาเวลาในการนำเสนอ ( พูด - แสดง )
ใช้ภาพให้ตรงกับการพูด
อย่าหันหลังให้ผู้ชมมากนัก
ผู้พูดควรจะเป็นผู้ควบคุมการฉายเอง  ถ้าทำได้
อย่าโยนความผิดต่อหน้ากลุ่มผู้ฟังไปให้คนอื่น เมื่อเกิดการผิดพลาดขั้นตอน
ใช้หลักการพูดในที่ชุมชนมาประยุกต์ใช้
อย่าให้มีแสงสว่างจ้าปรากฏบนจอก่อนหรือหลังการพูด
ข้อบกพร่องที่พบเสมอ
หลอดฉายขาดระหว่างการใช้เครื่อง
ติดขัดขณะดำเนินรายการ
ห้องมีแสงสว่างมาก ทำให้เห็นภาพไม่ชัดเจน
เรียงลำดับและกลับภาพผิด ๆ ถูก
คำพูดกับภาพไม่ตรงกัน
ภาพไม่สัมพันธ์กับผู้ชม
มีแสงสว่างจ้าปรากฏบนจอ
ผู้พูดหันหลังให้ผู้ชมมากเกินไป
ข้อแนะนำ
ซ้อมการนำเสนอด้วยความมั่นใจ
ใช้ภาพเป็นแนวทางในการพูด
ใช้ทักษะในการพูดมาประยุกต์ใช้
วิธีที่จะไม่หันหลังให้ผู้ชมมากเกินไป ให้ใช้กระจกส่องมองหลังหรือทีวีมอนิเตอร์ขนาดเล็ก
" บุคคลิกภาพของมนุษย์ คือขุมทรัพย์มหาศาลแห่งพิภพ "เอกสารประกอบการอบรมการถ่ายภาพที่มีคุณค่าที่ได้รับจากการเข้าฝึกอบรม  ย้อนไปในอดีตที่ บริษัทโกดักโด่งดังมากในยุทธจักรของสื่อที่ต้องผลิตด้วยฟีล์มเป็นหัวใจสำคัญ   เป็นการเผยแพร่ให้กับสมาชิกผู้สนใจเพื่อจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ที่ถูกต้อง และได้เพิ่มเติมอุปกรณ์บางอย่างที่เป็นปัจจุบันเข้าไปด้วย  จึงขออภัยผู้เขียนไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ทันสมัยนำไปใช้ในด้านการเรียน  การสอน  และ การประชุมสัมนา ทั้งภาครัฐ -เอกชน สำหรับวิทยากรที่สนใจทุกท่าน
เขียนโดย: สยาม เอี่ยมพิชัยฤทธิ์   ศูนย์ฝึกอบรม  บริษัทโกดัก ( ประเทศไทย) จำกัด

ที่มา  rmutto.ac.th  คลังความรู้การใช้อุปกรณ์ ICT ในห้องเรียน คณะเทคโนโลยีสังคม สื่อค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2555 จาก http://project.chan.rmutto.ac.th/2552/fixtools/page/ict.html
โอเวอร์เฮด โปรเจคเตอร์
โอเวอร์เฮด โปรเจคเตอร์

การทำงานของเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เป็นเครื่องฉายที่ใช้ระบบฉายแบบอ้อม คือ รวมแสงจากหลอดฉายผ่านแผ่นโปร่งใส ผ่านเลนส์ฉายสะท้อนไปสู่จอรับภาพ 
การใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
1.เตรียมแผ่นโปร่งใสที่จะใช้บรรยายให้พร้อมล่วงหน้า และเรียงลำดับไว้ให้เรียบร้อยอาจจดโน้ตลงบนกรอบภาพได้ เพื่อกันลืมและให้การบรรยายเป็นไปตามขั้นตอน 
2. เตรียมแผ่นโปร่งใสเปล่า เพื่อเขียนเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้เตรียมมา พร้อมด้วยปากกาชนิดลบได้ และกระดาษทิชชู หรือผ้าชุบน้ำหมาด เพื่อลบข้อความที่เขียนผิดหรือไม่ต้องการ 
3.เตรียมกระดาษทึบแสดงเพื่อใช้เทคนิคการบังภาพ 
4. ติดตั้งเครื่องฉายให้พร้อม ทดลองเปิด - ปิด ไฟ และปรับโฟกัสภาพไว้ให้เรียบร้อย 
5.การปิด - เปิดไฟ (หลอดฉาย) บริษัท 3 เอ็ม ประเทศไทย จำกัด ได้ให้คำแนะนำว่าควรปิดไฟเสมอเมื่อเปลี่ยนแผ่นใส และวางแผ่นโปร่งใสให้เรียบร้อยก่อนเปิดไฟ การปิดไฟบ้างเมื่อใช้ฉายภาพเสร็จแล้ว จะทำให้อายุการใช้งานของหลอดนานขึ้น เมื่ออธิบายเรื่องใดนาน ที่ไม่มีในแผ่นใส ก็ควรปิดหลอดฉาย เป็นการดึงสมาธิของผู้ฟังมาสู่คำบรรยายด้วย และผู้ฟังอาจเกิดความรำคาญกับแสงสว่างที่จ้าบนจอนาน การที่ต้องวางแผ่นภาพโปร่งใส ให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงเปิดไฟ (หลอดฉาย) ก็เพื่อไม่ให้ผู้ฟังหรือผู้ชมเวียนศีรษะ และรำคาญกับภาพหรือข้อความที่เบลอ ซึ่งอยู่นอกระยะชัด (out of focus) เนื่องจากที่ผู้บรรยายยกแผ่นโปร่งใสขึ้นลงขณะนำแผ่นโปร่งใสวางบนแท่นโดยไม่ปิดหลอดฉาย
6.เมื่อต้องการเน้น ควรขีดเส้นใต้ หรือเขียนเพิ่มเติม 
7.เมื่อต้องการชี้ภาพหรือข้อความ ควรวางปากกาลงบนแผ่นโปร่งใส ไม่ควรเดินไปชี้ที่จอ 
8.ถ้าผู้เรียนไม่เห็นข้อความด้านล่าง ควรเลื่อนแผ่นโปร่งใสขึ้น หรือเงยเลนซ์ฉายขึ้น 
9.ใช้ภาพซ้อนให้ถูกต้องตามลำดับก่อนหลัง 
10.ควรให้ผู้เรียน หรือผู้ฟังมีส่วนร่วม เช่น ให้ออกมาชี้ เขียนภาพ หรือข้อความ 
11.ควรเตรียมการแก้ไขเหตุฉุกเฉินไว้ด้วย เช่น ฟิวส์ หลอดฉายสำรอง เพื่อไม่ให้การเรียนการสอนต้องหยุดชะงัก ซึ่งอาจทำให้การถ่ายทอดเนื้อหาบกพร่องไป 
  วิธีการใช้เครื่องฉายภาพโปรงใสประกอบการสอน
1.วางเครื่องฉายภาพโปร่งใสบนโต๊ะผิวเรียบ แข็ง ไม่ควรวางบนโต๊ะที่อ่อนนุ่มหรือยุบตัวได้ ตั้งเครื่องฉายและจอให้ผู้เรียนมองเห็นภาพอย่างชัดเจน และทั่วถึง 
2.ทำความสะอาดเลนส์ ด้วยกระดาษเช็ดเลนส์ ทำความสะอาดแท่นวางภาพโปร่งใสด้วยผ้าขนอูฐ หรือสักหลาดนุ่ม ทุกครั้งที่จะฉาย ก่อนเสียบปลั๊ก ตรวจดูให้แน่ใจว่าใช้ไฟ 110 หรือ 220 โวลต์ (ปกติจะตั้งไว้ที่ 220 V.) สวิทซ์พัดลม และ สวิทซ์หลอดฉาย ต้องอยู่ในตำแหน่งปิด 
3.ปรับระยะชัดและขนาดของภาพบนจอ โดยวางแผ่นโปร่งใส (หรือวัสดุอะไรก็ได้ เช่น ปากกา ดินสอ) บนแท่นวางแผ่นใส เปิดสวิทซ์พัดลมและหลอดฉาย เครื่องบางรุ่นจะมีสวิทซ์ 2 จังหวะ คือจังหวะที่ 1 เป็นสวิทซ์พัดลม จังหวะที่ 2 เป็นการเปิดหลอดฉาย บางรุ่นก็มีจังหวะเดียวคือพอเปิดสวิทซ์พัดลมก็จะทำงานและหลอดก็จะสว่างทันที เมื่อเปิดสวิทซ์หลอดฉายแล้วก็ หมุนปุ่มสำหรับปรับระยะชัด หรือที่เรียกว่าปรับโฟกัส ให้ภาพชัดบนจอ ปรับเลนส์ฉาย ขึ้น-ลง เพื่อให้ได้ตำแหน่งภาพที่เหมาะสม หากภาพใหญ่เกินไปหรือล้นจอ ให้เลื่อนเครื่องฉายเข้าใกล้จอ ถ้าขนาดของภาพเล็กเกินไป ให้เลื่อนเครื่องฉายห่างจากจอ ขณะเคลื่อนย้ายเครื่องฉายควรปิดหลอดฉายก่อน เพราะถ้าเคลื่อนย้ายขณะเปิดหลอดฉาย การสั่นสะเทือนอาจทำให้หลอดฉายขาดได้ 
4.การใช้จอกับเครื่องฉายภาพโปร่งใสนั้น ใช้ได้กับจอทุกแบบที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดของจอจะเป็นเท่าใดขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้ดู ข้อควรระวังคือ เรื่องของการเกิด คีสโตน เอฟเฟค (Keystone Effects) คือจะได้ภาพส่วนบน โตกว่าส่วนล่าง ทำให้ผิดส่วนไป วิธีแก้ไขคือ คว่ำหน้าจอลงเล็กน้อย เพื่อให้พื้นของจอตั้งฉากกับเส้นแกนมุมสำคัญของเลนซ์ฉาย ถ้าเป็นจอแบบตั้งพื้นที่ดีมักจะมีขอเกี่ยวจอด้านบนเป็นแขนยื่นออกมาข้างหน้า เพื่อให้จอคว่ำหน้าลงเล็กน้อย เป็นการแก้ปัญหาเรื่องการเกิด Keystone Effects
5.เมื่อเลิกใช้เครื่องฉายภาพโปร่งใส อย่าถอดปลั๊กทันที หลังจากปิดสวิทซ์หลอดฉายแล้ว ต้องให้พัดลมทำงานต่อไปสัก 5 - 10 นาที เพื่อให้หลอดฉายเย็นตัวลงก่อน จึงปิดสวิทซ์พัดลม แล้วถอดปลั๊กเครื่องบางรุ่นมีเทอร์โทสตัทในตัว เมื่อปิดสวิทซ์หลอดฉายแล้ว พัดลมจะทำงานต่อไป (ฟังเสียงดูได้ หรือใช้มืออังตรงช่องระบายความร้อน จะมีลมพ่นออกมา) เมื่ออุณหภูมิของหลอดฉายเย็นลงถึงระดับที่ปลอดภัยพัดลมจะหยุดเอง 
การดูแลรักษาเครื่องฉายภาพโปร่งใส
1.ใช้พลาสติกหรือผ้าคลุมเครื่องฉาย เพื่อป้องกันฝุ่นจับที่เลนซ์ และเก็บในห้องที่ไม่มีความชื้นมาก เพราะอาจทำให้เลนซ์เสียหาย และ ไม่ควรใช้เครื่องฉายติดต่อกันนาน ควรปิดเสียบ้าง 
2.ถ้ามีฝุ่นจับที่เลนซ์หรือกระจกสะท้อนแสง ควรใช้แปรงขนอ่อนปัด หรือใช้ลูกยางเป่าลม และเช็ดด้วยกระดาษเช็ดเลนซ์ 
3.การเปลี่ยนหลอดฉาย อย่าใช้มือจับที่หลอดโดยตรง เพราะที่มือมีไขมันจะติดที่หลอด เมื่อหลอดร้อน ไขมันจะจับเป็นจุดที่หลอด ควรใช้ผ้านุ่ม พันหลอดก่อนที่จะจับ บางเครื่องต้องใส่หลอดให้ถูกต้อง โดยให้ด้านที่เขียนว่า UP อยู่ด้านบน 
4.แกนปรับหมุนหัวเลนซ์ฉาย ควรหยอดน้ำมันทุก 3 เดือน แกนมอเตอร์พัดลม ควรทำความสะอาดและหยอดน้ำมันหล่อลื่นชนิดใสทุก 6 เดือน 
5.อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ภายใน เช่น ข้อเสียบ หลอด พัดลม ไม่ควรถูกน้ำ เพราะอาจเกิดความเสียหายได้

4. วิชวลไลเซอร์
1.แกนยึดหัวกล้อง
2. ที่ล็อกแกนยึดหัวกล้อง
3.แกนยึดหัวกล้อง
4.ปุ่มกดยกแกนหัวกล้อง
5.สวิทซ์ไฟ
6.ส่วนของหัวกล้อง
7.บริเวณช่องรับสัญญาณ Infrared
8.หัวกล้อง
9.ไฟส่องสว่างด้านบน
10.แขนไฟส่องสว่างด้านบน
11.ไฟที่ฐาน
12.แผงควบคุมหน้าเครื่อง
13.ช่องเสียบไมโครโฟน พร้อมปุ่มปรับ Volumeช่องต่อสายสัญญาณ

การติดตั้ง
1. กดปุ่มยกแกนหัวกล้อง
2. ยกแกนยึดหัวกล้องขึ้น
3. ยึดแกนยึดหัวกล้องออกให้สุด
4. ปรับหัวกล้องตามแนวนอนให้ได้มุมที่เหมาะสม
5. ปรับหัวกล้องตามแนวตั้งให้ได้มุมที่เหมาะสม
6. ยกไฟส่องสว่างด้านข้างและแขนไฟส่องสว่างด้านข้างขึ้น
7. ปรับให้ได้ระดับที่ต้องการ  
การพับเก็บ
1.พับเก็บไฟส่องสว่างด้านข้าง
2.เก็บไฟส่องสว่างด้านข้างลง
3.กดปุ่มยกแกนหัวกล้อง
4.เก็บแกนหัวกล้องที่ยืดออก
5.หมุนหัวกล้องให้ขนานกับแกนหมุน
6.กดปุ่มล็อคแกนหัวกล้องและเก็บแกนล็อคหัวกล้องลง
แผงควบคุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น