วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การประยุกต์ใช้สื่อไอซีทีเพื่อการศึกษา (Information and Communication Technologies)


ที่มาเบญจวรรณ ชมภูนุช 29 มิถุนายน 2551. ICT กับการเรียนรู้ สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555
จาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/167962
การประยุกต์ใช้สื่อไอซีทีเพื่อการศึกษา (Information and Communication Technologies)
   การนำ ICT ไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในวงการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจาก ICT เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับว่ามีศักยภาพสูง กว่าเครื่องมือการสอนอื่น ๆ เราสามารถใช้ ICT เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ คำว่า “ ICT” ย่อมาจาก Information and Communication Technologies
I ย่อมาจากคำว่า Information คือ ระบบสารสนเทศ
C ย่อมาจากคำว่า Communication คือ การสื่อสาร
T ย่อมาจากคำว่า Technology คือ เทคโนโลยี ในที่นี้คือ คอมพิวเตอร์
หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง การรวมตัวกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีการสื่อสาร (CT) เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลข่าวสารมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ หรือหมวดหมู่ เพื่อให้ทุกคนที่สนใจเข้าถึงข้อมูล และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สิ่งสำคัญที่คุณครูจะทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้เข้าใจเป็นอย่างดี ก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า “สื่อการเรียนรู้” และสื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุดก็คือ สิ่งที่จะสื่อให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ได้ดีที่สุด ซึ่งมีมากมายหลากหลาย การเรียนรู้ในบางเรื่องแค่คุณครูบอกเล่าหรือแสดงท่าทาง เด็กก็เข้าใจได้ และในบางเรื่องต้องใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ เข้ามาช่วย การพิจารณาใช้สื่อ ไม่ควรยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สื่อทุกชนิดมีคุณค่าและมีความสำคัญที่แตกต่าง ขึ้นอยู่กัสถานการณ์ที่จะนำมาใช้ เป็นต้น
การนำเอา ICT มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ 

เช่นการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer Assisted Instruction)
การเรียนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Leaning)
การเรียนโดยใช้การสื่อสารทางไกล (Distance Learning)
รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน
1. การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ
2. การส่งการสอนทางไกลด้วยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
3. การเรียนการสอนโดยการประชุมทางไกลด้วยวีดีทัศน์
4. บทเรียนลักษณะข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติ
5. บันทึกข้อมูลและสารสนเทศด้วยซีดีและดีวีดี
6. การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีไร้สาย
7. การศึกษาเชิงลึกด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) เป็นเจ้าของบริษัทไมโครซอฟต์ซึ่งผลิตซอฟต์แวร์สำหรับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยให้ความสำคัญกับการศึกษาเกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กับการศึกษาดังนี้ (รุ่ง แก้วแดง. 2543)
1) การเรียนมิได้มีเฉพาะในห้องเรียน การเรียนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะในห้องเรียนและอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของครูเท่านั้น ในโลกยุคปัจจุบันคนสามารถที่จะเรียนได้จากแหล่งความรู้ ที่หลากหลาย โดยเฉพาะทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway)
2) ผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน จึงจำเป็นจะต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะเด็กแต่ละคนมีความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และการมองโลกแตกต่างกันออกไป
3) การเรียนที่ตอบสนองความต้องการรายคน การจัดการศึกษาที่สอนเด็กจำนวนมาก (Mass Production Education) โดยรูปแบบที่จัดเป็นรายชั้นเรียนในปัจจุบัน ไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการของเด็กเป็นรายคนได้ แต่ด้วยพลังอำนาจและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การเรียนตามความต้องการของแต่ละคน (Tailor-made Education) สามารถจะเป็นจริงได้ โดยมีครูคอยให้การดูแลช่วยเหลือและแนะนำ
4) การเรียนโดยใช้สื่อประสม ในอนาคตห้องเรียนทุกห้องจะมีสื่อประสม (Multimedia) จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เด็กสามารถเลือกเรียนเรื่องต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ ซึ่งในปัจจุบันได้มีบริษัทธุรกิจต่างๆ ผลิตสื่อประสมไว้มากมายหลายรูปแบบ และสอดคล้องกับเนื้อหาที่ จะเรียน สื่อประสมจะเข้ามาในรูปของซีดีรอม (CD-Rom) บนทางด่วนข้อมูลโดยต่อเชื่อมโยงเข้า กับ Internet ที่เป็นระบบ World Wide Web ช่วยให้เด็กสามารถเห็นภาพ ฟังเสียง ดูการเคลื่อนไหว ฯลฯ และมีสถานการณ์สมมุติต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
5) บทบาทของทางด่วนข้อมูลกับการสอนของครู ปัจจุบันครูต้องทำงานหนักเพื่อเตรียมการสอนตลอดเวลา แต่ด้วยระบบเครือข่ายทางด่วนข้อมูลจะทำให้ได้ครูที่สอนเก่งจากที่ ต่างๆ มากมายมาเป็นต้นแบบ และสิ่งที่ครูสอนนั้นแทนที่จะใช้กับเด็กเพียงกลุ่มเดียวก็สามารถ สร้าง Web Siteของตนหรือของโรงเรียนขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ออกไปให้โรงเรียนอื่นได้ใช้ด้วย ทาง ด่วน ข้อมูลที่ทำให้สื่อสารระหว่างกันได้ (interactive network)จะช่วยปฏิวัติเรื่องการเรียนการสอน
6) บทบาทของครูที่เปลี่ยนไป ครูจะมีหลายบทบาทหน้าที่คือ
บทบาทที่ 1 ทำหน้าที่เหมือนกับผู้ฝึก (Coach) ของนักศึกษา คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ
บทบาทที่ 3 เป็นทางออกที่สร้างสรรค์ (Creative Outlet) ให้กับเด็ก
บทบาทที่ 4 เป็นสะพานการสื่อสารที่เชื่อมโยงระหว่างเด็กกับโลก ซึ่งอันนี้ก็คือบทบาทที่ยิ่งใหญ่ ของครู ถ้าครูทำบทบาทอย่างนี้ได้ การเรียนการสอนจะมีความสนุกสนานขึ้นอย่างมาก
7) คอมพิวเตอร์กับความเป็นมนุษย์ ในการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้นั้น ครูและนักเรียนสามารถอยู่กับคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ทำลายศักดิ์ศรีหรือความเป็นมนุษย์ เพราะบทบาท ของครูก็ยังคงอยู่ และจะมีความสำคัญยิ่งขึ้นถ้าเราสามารถปรับบทบาทของครูให้เข้าใจในเรื่องนี้ได้
 ICT ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. E-Learning บทเรียนออนไลน์ เรียนรู้โดยผ่านบทเรียนออนไลน์ที่สะดวก รวดเร็ว สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
2. CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนรู้โดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการที่ทำให้ทำให้ได้สามารถคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น เพราะจะมี Feedback กลับมาให้เราได้รู้ผลการเรียนของเราด้วย
3. WEB เว็บไซต์ เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เว็บไซต์เป็นหลัก ซึ่งมีมากมายหลากหลายวิชา มีทั้งแบบข้อความเพื่ออ่าน ภาพประกอบ เสียงบรรยาย หรือวีดีโอสอนทำให้เราเรียนรู้ได้เข้าใจง่ายมากขึ้น
4. E-Book หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เราสามารถอ่านหนังสือได้โดยที่เราสามารถเรียนรู้ได้สะดวกขึ้นเพราะไม่ต้องพกหนังสือหลายๆเล่มเพียงแค่มีคอมพิวเตอร์แบบพกพาติดตัว อย่างtablet ก็สามารถพกหนังสือติดตัวได้ทีละหลายๆเล่ม
ที่มาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 11 มีนาคม 2009 ICT กับการปฏิรูปการศึกษา สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555จาก http://gilfkaevarity.wordpress.com

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในด้านการศึกษา (ICT)
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia)ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียน
- การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา
- อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน
- วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
- ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้
- การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือWorld Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอลhttp เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ
ที่มา ยืน ภู่วรวรรณ และ สมชาย นำประเสริฐชัย ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย กรุงเทพฯ : หจก.เม็ตทรยพริ้งติ้ง, 2546.
อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
ลักษณะการใช้ ICT
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน
การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง
บทบาทของสถานศึกษาในการใช้ ICT เพื่อจัดการเรียนรู้


บทบาทของสถานศึกษา


1. กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันด้าน ICT
2. จัดทำหลักสูตร/จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการด้าน ICT
3. ผู้บริหารมีความมุ่งมั่น และมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
4. สนับสนุนครู และบุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้งาน ICT อย่างทั่วถึง
5. ปรับบทบาทและวิธีการสอนของครู

ความสำเร็จในการใช้ ICT ในการเรียนรู้
1.ผู้เรียน :จะต้องมีทักษะพื้นฐานในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้
2. หลักสูตร :จะต้องมีการสอดแทรก ICTเข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนและส่งเสริมให้เกิดการคิด วิเคราะห์ และการสร้างองค์ความรู้
3. ผู้สอน/ผู้บริหาร : จะต้องมีทักษะพื้นฐาน และสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการ สอน
4. เทคโนโลยี : เลือกใช้เทคโนโลยีได้สอดคล้อง และเหมาะสมกับผู้เรียน
ข้อดีของ ICT
1.เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
2.ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
3.ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
4.ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี
ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
ข้อเสียของ ICT
1.ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
2.ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
3.ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน
4.ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น